TH | EN


วันที่เพิ่มข้อมูล : 25 june 2562
มีผู้เข้าชมทั้งหมด : 1363 ครั้ง

ใช้อาวุธปืนป้องกันตัว ยิงได้กี่นัด ถึงไม่ติดคุก


ป้องกันตัว…ยิงได้กี่นัด ไม่ติดคุก
ในเรื่องของการใช้อาวุธปืน เพื่อปกป้องชีวิต มักจะได้ยินคำถามบ่อยๆ ว่า
– ยิงได้กี่นัด หรือบางครั้ง ก็มีความเข้าใจว่า
– ยิงมากกว่า 1 นัดจะเข้าข่าย “เกินกว่าเหตุ”
ความจริงแล้ว กฎหมายกำหนดไว้อย่างไร?
กฎหมายที่เกี่ยวกับการใช้อาวุธปืน เพื่อปกป้องชีวิตและทรัพย์สิน

คือ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67, มาตรา 68, มาตรา 72
ซึ่งกำหนดไว้ดังนี้
– มาตรา 67 กระทำความผิดด้วยความจำเป็น ไม่ต้องรับโทษ
– มาตรา 68 ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีความผิด
– มาตรา 72 บันดาลโทสะ ศาลจะลงโทษ
น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ เพียงใดก็ได้
ในเรื่องของการใช้อาวุธปืน ยิงเพื่อปกป้องชีวิตนั้น

ไม่มีกฎหมายมาตราใด ที่กำหนดไว้ว่า “จะยิงได้ กี่นัด”ทั้งนี้ เมื่อมีภัยคุกคาม เราสามารถใช้อาวุธปืนยิงได้ จนกว่าภัยคุกคามนั้น จะ “หมดสภาพ” ความเป็นภัยคุกคาม
“ยิงได้จนกว่าอันตรายจะหมดไป”

***ตัวอย่าง***
– นาย ก. เดินเข้าไปในบ้าน นาย ข. และยิงปืน ๑ นัด พร้อมทั้งแสดงอาการจะทำร้าย นาย ข. นาย ข.จึงใช้ปืนยิงไป ๖ นัดโดยที่ นาย ก. ยังไม่ล้มลง ยังคงเป็นภัยคุกคาม อยู่นอกจากนั้น นาย ก. ก็ยังสามารถหลบหนีออกไปจากบ้านของ นาย ข.ได้ (เมื่อ นาย ก. หนีแล้ว , นาย ข. จะตามไปยิงต่อไม่ได้ เพราะถือว่า นาย ก. ไม่เป็นภัยคุกคามแล้ว) เช่นนี้ ถือได้ว่า นาย ข. ได้กระทำไปเพื่อป้องกันตน และเป็นการกระทำที่ “พอสมควรแก่เหตุ” นาย ข. จึงไม่มีความผิด
“หยุดแล้ว ห้ามยิงซ้ำ”

***ตัวอย่าง***
– นาย ก.ขับรถเข้ามาในบริเวณบ้านของ นาย ข. เพื่อจะบังคับ นางสาว ค. ซึ่งเป็นบุตรสาวของ นาย ข.
และเคยเป็นภริยาของ นาย ก.ให้กลับไปอยู่ด้วยกันเช่นเดิม จากนั้นก็เกิดการโต้เถียงกัน นาย ข.พูดจาห้ามปราม แต่ นาย ก.ไม่ฟัง และได้ลงจากรถพร้อมกับถืออาวุธมีดยาว 12 นิ้ว เดินไปหา นาย ข. นาย ข. วิ่งขึ้นไปบนบ้านหยิบเอาอาวุธปืนยาวขนาด .22 ซึ่งเป็นอาวุธปืนที่ นาย ข.ได้รับอนุญาตให้มีและใช้ ลงจากบ้าน เพื่อห้ามปรามมิให้ นาย ก. ทำร้ายหรือทำลายทรัพย์สินของ นาย ข. หรือบังคับให้ นางสาว ค.กลับไป อยู่ด้วย โดยไม่มีทีท่าว่าจะยิง นาย ก. ขณะนั้น นาย ก. กำลังถูก นางสาว ค.กอดไว้ จึงไม่ถือว่า นาย ข. “สมัครใจเข้าทะเลาะวิวาท” กับ นาย ก. สักครู่ นาย ก. สะบัดตัวหลุด และเดินเข้าหา นาย ข. เพื่อทำร้ายจนอยู่ห่างกันประมาณ 1 วา และมีอาวุธมีดยาวในมือ ซึ่งถือว่าเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงแล้ว นาย ข. ย่อมมีสิทธิจะป้องกัน เนื่องจากหากปล่อยให้ นาย ก. เข้ามาใกล้กว่านั้น โอกาสที่จะใช้อาวุธปืนยาว ยิงเพื่อป้องกันตัวก็จะทำได้ยาก นาย ข. ใช้อาวุธดังกล่าวยิงไปที่ นาย ก. 1 นัด แต่ นาย ก. ก็ยังเดินเข้ามาหา นาย ข.อีก นาย ข.จึงยิง นาย ก. อีก 2 นัด ติดต่อกัน นาย ก. ล้มลง นับว่าเป็นการกระทำ “พอสมควรแก่เหตุ” ในสถานการณ์ เช่นนั้น แต่หลังจาก นาย ก. ล้มลงไปแล้ว นาย ข. ยังเดินเข้าไปยิง นาย ก. ซ้ำอีก 2 นัด จึงเป็นการกระทำเกินสมควรแก่เหตุ นาย ข. จึงมีความผิด
———————————————————-

จากคำพิพากษาศาลฎีกา
และตัวอย่างที่นำมาเสนอนี้ จะเห็นได้ว่า “ประเด็นสำคัญ” ของการใช้อาวุธปืน ในการป้องกันตัว คือ
เมื่อ มีภัยคุกคามนั้น “ไม่มีสภาพ” เป็นภัยคุกคามอีก
———————————————————-
หวังว่า บทความนี้จะเป็นประโยชน์ และทำให้เพื่อนๆมีความเข้าใจใน เรื่องของการใช้อาวุธปืนเพื่อปกป้องชีวิตขึ้นไม่มากก็น้อยนะครับ
———————————————————-

สามารถศึกษาได้จาก
– คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๔๗๕/๒๕๓๒
– คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๗๙๔๐/๒๕๕๑
———————————————————-