TH | EN


วันที่เพิ่มข้อมูล : 25 july 2560
มีผู้เข้าชมทั้งหมด : 751 ครั้ง

อยากเลี้ยงสุนัขต้องรู้ มีกฎหมายอะไรเกี่ยวข้องบ้าง!!

หลายครั้งที่ได้เห็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับปัญหาเจ้าของสุนัขทะเลาะกับเพื่อนบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงเพราะสุนัขเห่าเสียงดัง สุนัขขับถ่ายไม่เป็นที่ ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวนเพื่อนบ้าน

        ซึ่งในบางครั้งปัญหาสุนัขที่สร้างความเดือดร้อนให้แก่เพื่อนบ้านเหล่านี้ ก็นำมาซึ่งความขัดแย้งที่ลุกลามทำให้เจ้าของสุนัขและเพื่อนบ้านทะเลาะกันถึงขั้นทำร้ายร่างกายจนได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต สุดท้ายแล้วทั้งเจ้าของสุนัขและเพื่อนบ้านก็อาจจะต้องสู้คดีกันตามกฏหมาย

        สำหรับในกรุงเทพมหานคร มีการออกมาตราทางกฏหมายในการควบคุมการเลี้ยงสุนัข เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ป้องกันเหตุเดือดร้อนรำคาญ อันตรายจากการเลี้ยงสุนัข อันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสุนัข โดยข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข พ.ศ. 2548 ข้อ 26 ประกอบกับพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 มาตรา 73 วรรค 2 ดังนี้

 1.เจ้าของสุนัขต้องควบคุมสุนัขไม่ให้ก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญ เช่น การก่อให้เกิดเสียงดังติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เป็นต้น

 2.ต้องรักษาสถานที่เลี้ยงสุนัขให้สะอาดอยู่เสมอ จัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุนัขลักษณะเป็นประจำ ไม่ปล่อยให้เป็นที่สะสมหมักหมมจนเกิดกลิ่นเหม็นรบกวนผู้อื่นที่     อยู่บริเวณใกล้เคียง

Advertisement: Replay Ad
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

  3.ต้องกำจัดสิ่งปฏิกูลอันเกิดจากสุนัขในที่หรือทางสาธารณะหรือในที่อื่นใดในเขตกรุงเทพมหานครโดยทันที

  4.เมื่อสุนัขตาย เจ้าของสุนัขต้องกำจัดซากสุนัขให้ถูกสุขลักษณะเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นแหล่งเพราะพันธุ์แมลงหรือสัตว์นำโรค ทั้งนี้ โดยวิธีที่ไม่ก่อเหตุรำคาญ      และไม่เป็นเหตุให้เกิดการปนเปื้อนของแหล่งน้ำ

    รวมถึงทุกครั้งที่เจ้าของจะพาสุนัขออกไปในที่สาธารณะ โดยเฉพาะกับสุนัขควบคุมพิเศษ ซึ่งได้แก่ สุนัขสายพันธุ์ที่ดุร้าย เช่น พิทบูลเทอเรีย บูลเทอเรีย ส เตฟฟอร์ดเชอร์บูลเทอเรียรอทไวเลอร์ และฟิล่าบราซิลเรียโร เป็นต้น จะต้องมีเจ้าของติดตาม รวมทั้งจะต้องผูกสายลากจูงตลอดเวลา โดยจะต้องใส่อุปกรณ์ครอบปากและใช้สายลากจูงมีความยาวไม่เกิน 50 ซม.

    ทั้งนี้ ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท โดยประชาชนทั่วไปที่พบเห็นการฝ่าฝืนสามารถแจ้งเจ้าพนักงานสาธารณสุข เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเทศกิจ ให้ดำเนินการปรับได้ทันที แต่จะต้องมีหลักฐานบ่งชี้ชัด เช่น ภาพถ่าย และหากสุนัขไล่กัดทำร้ายผู้อื่นก็จะมีโทษปรับ 2 เท่า คือ ปรับเป็นเงินไม่เกิน 5,000 บาท แล้วจะต้องชดใช้ค่าเสียหาย ค่ารักษาพยาบาล และค่าทำขวัญให้กับผู้เสียหายอีกด้วย