TH | EN


วันที่เพิ่มข้อมูล : 26 may 2559
มีผู้เข้าชมทั้งหมด : 931 ครั้ง

ผู้พิพากษา ซัด อ่านกฎหมายก่อนวิจารณ์ ห่วงดราม่า หมากัดคน

ผู้พิพากษา'ซัดอ่านกม.ก่อน! น่าเป็นห่วงดราม่าหมากัดคน

“ชูชาติ” อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา โพสต์เฟซบุ๊กเป็นห่วงสังคมไทย ซัดคนวิจารณ์ “หมากัดเด็ก” ไม่เคยอ่านพรบ.ทารุณกรรมสัตว์ แนะอ่านก่อนวิจาารณ์ กฏหมายให้สิทธิ์ทำร้าย-ฆ่าสุนัขได้ ป้องกันอันตรายแก่ชีวิต

ยังคงถูกวิจารณ์ให้แซดทั่วโซเชียลฯ กรณีโลกออนไลน์แพร่ภาพจากกล้องวงจรปิด ขณะสุนัขกระโจนกัดหน้าเด็กสาววัย 14 ปี จนเป็นแผลเหอวะภายหลังผู้เป็นพ่อโอดครวญด้วยว่า เย็บกว่า 100 เข็ม หวั่นเสียโฉมเป็นอย่างมาก เรียกค่ารักษาไป 300,000 บาท แต่เจ้าของสุนัขกลับต่อรองเหลือครึ่งหนึ่ง ฝ่ายตนเองไม่อยากเอาความ จึงยอมรับเงินและค้าขายหาเงินศัลยกรรมให้ลูกสาวต่อไป ภายหลังกระแสวิจารณ์เกิดขึ้นตามาอย่างมากมาย ชาวเน็ตได้แสดงความคิดเห็นต่างโทษกฏหมายที่คุ้มครองสุนัขมากเกินไป ขณะที่นักร้องชื่อดัง “โจ-นูโว” ก็ได้โพสต์ข้อความ ระบุ คนทำร้ายหมาโทษหนัก แต่หมาทำร้ายคนยอมความได้ ตามที่ตกเป็นข่าวมาแล้วนั้น

เกี่ยวกับเรื่องนี้ วันที่ 25 พ.ค. นายชูชาติ ศรีแสง อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา ได้โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊กส่วนตัว “Chuchart Srisaeng” ถึงกรณีดังกล่าว ระบุว่า การวิพากษ์วิจารณ์ที่เกิดขึ้น เพราะมี พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ 2547 จึงไม่มีใครกล้าเข้าไปช่วยเหลือเด็ก เนื่องจากกลัวจะมีความผิดตามกฎหมาย บางคนถึงกับด่าผู้ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายฉบับนี้ว่า เห็นสัตว์มีความสำคัญมากกว่าคน และเสนอให้แก้ไข พ.ร.บ.ฉบับนี้ว่าในกรณีที่สุนัขจะกัดคนให้สามารถทำร้ายสุนัข เพื่อป้องกันไม่ให้กัดผู้นั้นได้ ทั้งนี้พ.ร.บ.ดังกล่าวบัญญัติ มาตรา 21 ระบุข้อยกเว้นไม่ถือว่าเป็นการทารุณกรรม “การฆ่าสัตว์ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อป้องกันอันตรายแก่ชีวิตหรือร่างกายของมนุษย์ หรือสัตว์อื่น หรือป้องกันความเสียหายที่จะเกิดแก่ทรัพย์สิน” สามารถกระทำได้โดยไม่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด ซึ่งผู้ใดก็ตามจะมีความผิดฐานกระทำ “ทารุณกรรมสัตว์” ต้องเป็นกรณีที่กระทำไปโดยไม่มีเหตุอันสมควร ถ้ามีเหตุอันสมควรก็ไม่มีความผิด

“ถ้าเป็นการกระทำที่มีความจําเป็น เพื่อป้องกันอันตรายแก่ชีวิต ร่างกายมนุษย์ หรือสัตว์อื่น หรือป้องกันความเสียหายที่จะเกิดแก่ทรัพย์สิน ไม่มีความผิดนั่นเอง ผู้ที่อยู่รู้เห็นเหตุการณ์สามารถช่วยเหลือเด็กไม่ให้ถูกสุนัขกัด โดยการทำร้ายหรือฆ่าสุนัขตัวนั้น เพื่อป้องกันอันตราย โดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 21 เมื่อเด็กได้รับบาดเจ็บถูกกัด เจ้าของต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 433 สรุปได้ว่า ผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์ไม่เคยอ่านกฎหมายฉบับนี้ รวมทั้งผู้ที่แชร์กันก็ไม่เคยอ่าน นี่คือสิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับสังคมไทย”อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา ระบุ.“

ที่มา : www.dailynews.co.th