TH | EN


วันที่เพิ่มข้อมูล : 29 april 2559
มีผู้เข้าชมทั้งหมด : 680 ครั้ง

จดทะเบียนต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาในประเทศไทย (อย.)

การจดทะเบียนต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาในประเทศไทย

สำหรับผู้ที่สนใจในการนำเข้ายา อาหาร อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์สำหรับสุขภาพของสัตว์หรือวัตถุอันตรายที่ใช้ในทางการแพทย์ เครื่องสำอาง วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท สารระเหย จะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งประเทศไทย ระยะเวลาในการยื่นขอจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ต่อ FDA นั้นแตกต่างกันไปตามแต่ชนิดของผลิตภัณฑ์ เช่น หนึ่งวันสำหรับเครื่องสำอางค์ หนึ่งสัปดาห์สำหรับเครื่องมือทางการแพทย์ทั่วไป สี่เดือนสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารและอาจใช้เวลานานกว่ามากสำหรับผลิตภัณฑ์ทางยา(เภสัชกรรม) อื่นๆ

ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนยาในประเทศไทย

ใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของไทยนั้นจำเป็นสำหรับกรณีที่จะนำเข้า และ/หรือ การผลิตยาในประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของไทย ได้แบ่งประเภทของยา ดังนี้ ยาทั่วไป ยาแผนโบราณ และ ยาสำหรับสัตว์ ทั้งหมดนี้ต้องจดทะเบียนแยกจากกัน ยาทั่วไปนั้นได้แยกย่อยออกไปอีกเป็นยาสามัญ ยาใหม่ ยาสามัญใหม่ ซึ่งแต่ละประเภทนั้นมีสิ่งที่ต้องปฎิบัติแตกต่างกัน    การออกใบอนุญาตเกี่ยวกับยาของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของประเทศไทยนั้นใช้ระยะเวลาที่ไม่แน่นอน

ขั้นตอนการจดทะเบียนอาหารในประเทศไทย

การนำเข้าอาหารที่ถูกควบคุมเข้ามาในประเทศไทย ผลิตภัณฑ์นั้นต้องจดทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของไทยและมีฉลากซึ่งแปลเป็นภาษาไทย อาหารจะต้องผ่านการตรวจสอบ ได้แก่ รายละเอียดของกระบวนการผลิตและวัตถุดิบ ให้ได้มาตรฐานของประเทศไทย และต้องมีใบอนุญาตการผลิตด้วย ใบอนุญาตการนำเข้าต้องต่ออายุทุกๆ 3 ปี

การได้ใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของประเทศไทย

การได้ใบอนุญาตในการนำเข้าหรือการผลิตอาหารหรือยาในประเทศไทยมีกระบวนการที่ใช้เวลานาน แต่สำนักงานกฎหมายที่มีคุณภาพสามารถทำให้คุณมั่นใจได้ว่าเอกสารทุกอย่างนั้นครบถ้วน เนื่องจากประสบการณ์ที่ยาวนานทำให้เรารู้ว่าผลิตภัณฑ์จะถูกสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของไทยจัดแบ่งเป็นหมวดหมู่อย่างไร การยื่นคำขอที่ครบถ้วนและผ่านการตรวจทาน มาอย่างละเอียดสามารถทำให้ระยะเวลาของขั้นตอนในการยื่นเป็นไปได้อย่างราบรื่น ค่าธรรมเนียมสำนักงานคณะกรรมการอาหาร