TH | EN


วันที่เพิ่มข้อมูล : 27 april 2559
มีผู้เข้าชมทั้งหมด : 3146 ครั้ง

สัญญาที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ

สัญญาที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ

สัญญาซื้อขาย คือ สัญญาที่บุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่าผู้ซื้อ และผู้ซื้อ ตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย ลักษณะส าคัญของสัญญาซื้อขาย 1. เป็นสัญญาต่างตอบแทน หมายความว่า ผู้ซื้อและผู้ขายต่างมีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติต่อกัน คือ ผู้ขายมีหน้าที่ส่ง มอบทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อโดยได้รับช าระราคาจากผู้ซื้อเป็นการตอบแทน และผู้ซื้อมีหน้าที่ช าระราคาให้แก่ผู้ขาย โดยได้รับสินทรัพย์จากผู้ขายเป็นการตอบแทน 2.เป็นสัญญาที่ผู้ขายมุ่งจะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อ และผู้ซื้อมุ่งช าระราคาแก่ผู้ขาย ซึ่งการโอนกรรมสิทธิ์นั้นไม่ ว่าจะโอนทันทีขณะท าสัญญาหรือจะโอนในภายหลังการท าสัญญาก็ได้ ส่วนการช าระราคาต้องช าระเป็นเงิน เท่านั้น 3.เป็นสัญญาที่ไม่มีแบบ สัญญาซื้อขายเกิดจากการแสดงเจตนาของบุคคลสองฝ่ายเมื่อค าเสนอและค าสนอง ตรงกัน ก็เกิดสัญญาซื้อขายแล้ว แต่มีข้อยกเว้น ดังนี้ 3.1 การซื้อขายบางประเภท ต้องท าหลักฐานเป็นหนังสือ วางมัดจ า หรือมีการช าระหนี้บางส่วน จึงจะ ฟ้องร้องบังคับคดีได้ เช่น สัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น 3.2 กฎหมายก าหนดทรัพย์บางประเภทว่าจะต้องท าตามแบบที่กฎหมายก าหนดไว้ในการซื้อขายทรัพย์นั้น หาก ไม่ท าตามแบบสัญญาตกเป็นโมฆะ ถือว่าไม่มีการท าสัญญาซื้อขายกัน เช่น สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ เป็น ต้น

สัญญากู้ยืมเงิน ถือเป็นสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองประเภทหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะส าคัญดังนี้

1. เป็นสัญญาที่คู่สัญญาสองฝ่ายซึ่งคู่สัญญาต้องมีความสามารถตามกฎหมายคือไม่เป็นผู้เยาว์ ไม่เป็นคนไร้ ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ

          2.วัตถุประสงค์ของสัญญายืมต้องไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือไม่เป็นการพ้นวิสัย

          3.ต้องมีการส่งมอบเงินที่ให้ยืม สัญญากู้ยืมเงินถึงจะสมบูรณ์ ซึ่งอาจจะส่งมอบในขณะท าสัญญาหรือส่งมอบ หลังจากท าสัญญาแล้วก็ได้

         4.ผู้ยืมต้องคืนเงินภายในก าหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ หากไม่ได้ก าหนดเวลาส่งคืนก็ต้องคืนเมื่อมีการทวงถามตาม กฎหมาย โดยผู้ให้ยืมมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราตามที่ตกลงกันไว้แต่ต้องไม่เกินอัตราที่กฎหมาย

         5.หากเป็นการกู้ยืมเงินเกินกว่าสองพันบาท ต้องมีหลักฐานลงลายมือชื่อผู้ยืมจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ ซึ่ง หลักฐานดังกล่าวไม่จำเป็นต้องมีในขณะท าสัญญา อาจท าขึ้นภายหลังได้แต่ต้องก่อนการฟ้องร้องบังคับคดี

สัญญาค้ าประกัน คือ สัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ค้ าประกัน ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่งเพื่อ ช าระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ช าระหนี้นั้น ซึ่งต้องมีการท าหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ าประกันจึงจะ ฟ้องร้องบังคับคดีได้ ลักษณะส าคัญของสัญญาค้ าประกัน     

 1. ผู้ค้ าประกันต้องเป็นบุคคลภายนอก กล่าวคือ สัญญาค้ าประกันเป็นความเกี่ยวพันระหว่างคู่กรณี 3 ฝ่าย คือ เจ้าหนี้ ลูกหนี้ และผู้ค้ าประกัน

 2.ต้องมีหนี้ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ และบุคคลภายนอกผูกพันตนต่อเจ้าหนี้เมื่อลูกหนี้ไม่ช าระหนี้ ซึ่ง หมายความว่า ต้องมีสัญญา 2 สัญญา ได้แก่ สัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้สัญญาหนึ่ง และสัญญาระหว่าง เจ้าหนี้กับผู้ค้ าประกันอีกสัญญาหนึ่ง

 3.ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของผู้ค้ าประกัน จึงจะสามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้

 4.สัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ ต้องเป็นหนี้ที่สมบูรณ์มีผลผูกพันบังคับได้ตามกฎหมาย สัญญาค้ าประกันจึง จะมีผลผูกพันบังคับได้ตามกฎหมายด้วย

 สัญญาจำนอง คือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้จำนอง เอาทรัพย์สินของตนให้ไปอยู่ในความควบคุมของ บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับจ านองเพื่อเป็นประกันการช าระหนี้ โดยการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่ไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจ านอง ลักษณะส าคัญของสัญญาจ านอง

1. เป็นกรณีที่ผู้จ านองน าทรัพย์สินของตนไปตราไว้แก่ผู้รับจ านองเพื่อเป็นการประกันการช าระหนี้ของลูกหนี้

2. ผู้จ านองอาจเป็นลูกหนี้เองหรือเป็นบุคคลภายนอกก็ได้ แต่ทรัพย์สินที่จ านองต้องเป็นของผู้จ านองเท่านั้น

3.ไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่จ านองให้แก่ผู้รับจ านองแต่ต้องมีการจดทะเบียนการจ านองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

4.ผู้รับจำนองมีสิทธิได้รับช าระหนี้ก่อนเจ้าหนี้สามัญ

5.การโอนทรัพย์จำนองแก่บุคคลภายนอก ไม่มีผลกระทบต่อการจ านอง ผู้รับจำนองยังสามารถบังคับจ านองกับ ทรัพย์จำนองนั้นได้       6.ทรัพย์สินที่จ านองได้ ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์ สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ เช่น เรือที่มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้น ไป แพที่อยู่อาศัย และสัตว์พาหนะ เป็นต้น

สัญญาจำนำ  คือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้จำนำ ได้น าทรัพย์สินมามอบไว้กับบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับจำนำ เพื่อเป็นหลักประกันการช าระหนี้ ลักษณะส าคัญของสัญญาจ าน า

 1. เป็นกรณีที่ผู้จ าน ามอบทรัพย์สินของตนไว้แก่ผู้รับจ าน าเพื่อเป็นหลักประกันการช าระหนี้

 2.ทรัพย์สินที่จ าน าต้องเป็นสังหาริมทรัพย์ และผู้จ าน าต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่จ าน า

3.ผู้จ าน าต้องส่งมอบทรัพย์สินที่จ าน าให้แก่ผู้รับจ าน ายึดถือครอบครอง

 4.สัญญาจ าน าไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ เพียงแต่ผู้จ าน าส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้รับจ าน ายึดถือครอบครอง การจ าน าก็สมบูรณ์ตามกฎหมาย