TH | EN


วันที่เพิ่มข้อมูล : 1 march 2559
มีผู้เข้าชมทั้งหมด : 5600 ครั้ง

การร้องทุกข์ของลูกจ้าง

นิยามความหมาย การร้องทุกข์ตามกฎหมาย คือ

1.เป็นข้อร้องทุกข์ของพนักงานและลูกจ้าง จะต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความคิดเห็น หรือข้อขัดแย้งว่าด้วยระบบหรือวิธีการทำงาน สิทธิประโยชน์ตามสัญญาหรือสภาพการจ้าง ความประพฤติ และความเป็นธรรมของพนักงานและลูกจ้าง

2.ข้อร้องทุกข์จะต้องมิใช่เรื่องร้องขอให้แต่งตั้ง โยกย้าย เลิกจ้าง ปลดออก ไล่ออก ซึ่งบุคคล

3.ข้อร้องทุกข์จะต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำงาน มิใช่เรื่องส่วนตัว เว้นแต่เรื่องนั้นจะเกี่ยวข้องกับการทำงาน

ซึ่งการร้องทุกข์ของพนักงานและลูกจ้างเป็นสิทธิเฉพาะตน สามารถร้องทุกข์ได้สำหรับตนเองเท่านั้น จะร้องทุกข์แทนคนอื่นหรือมอบหมายให้คนอื่นร้งทุกข์แทนไม่ได้ สาเหตุที่ต้องทำการร้องทุกข์ เกิดขึ้นจากผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ปฎิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายและเป็นกรณีที่ไม่มีสิทธิอุทธรณ์  ซึ่งการร้องทุกข์ทำได้ดังนี้   ร้องทุกข์ภายใน 30 วัน นับแต่ทราบหรือควรได้ทราบเรื่องอันเป็นเหตุให้ร้องทุกข์ โดยร้องทุกข์ด้วยวาจาต่อผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปเสียก่อน  หากคำชี้แจงเป็นที่ไม่พอใจหรือไม่ได้รับคำชี้แจงภายใน 7 วันนับแต่วันร้องทุกข์ด้วยวาจา  ก็สามารถร้องทุกข์เป็นหนังสือต่อผู้จัดการภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำชี้แจง

แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกฎหมายแรงงานให้สิทธินายจ้างในการกำหนดข้อบังคับเรื่องการร้องทุกข์ฉะนั้น ลูกจ้างสามารถที่จะใช้กระบวนการในองค์กรของตนได้ก่อน แต่หากไม่พอใจก็สามารถที่จะร้องต่อฝ่ายปกครองนั่นคือกรมส่งเสริมและสวัสดิ์ภาพแรงงานกับเจ้าพนักงานตรวจแรงงาน และในกรณีที่ลูกจ้างไม่พอใจก็สามารถนำเรื่องให้ศาลแรงงานวินิจฉัยชี้ขาด

การยื่นฟ้องศาลแรงงาน  ถ้านายจ้างไม่ประสงค์ที่จะร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ลูกจ้างก็มีสิทธิที่จะดำเนินการร้องเรียน หรือยื่นฟ้องต่อศาลแรงงานได้  เมื่อปรากฏว่านายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน โดยจะยื่นฟ้องต่อศาลแรงงานกลางซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร หรือยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดที่โจทก์หรือจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่โดยตรงเลยก็ได้  ซึ่งศาลจังหวัดจะรับฟ้องไว้แล้วแจ้งให้ศาลแรงงานกลางออกไปนั่งพิจารณาพิพากษาคดี  ณ  ศาลจังหวัดนั้น ๆ เอง การดำเนินคดีในศาลแรงงานนี้ไม่จำเป็นต้องมีทนายความและไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น 

   แต่การใช้สิทธิร้องเรียนต่อศาลแรงงานโดยตรง แทนการร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานนั้น กระทำได้ในเรื่องอื่น ๆ เว้นแต่การใช้สิทธิเรื่องเงินทดแทนจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนที่กฎหมายที่กฎหมายกำหนดเอาไว้เสียก่อนจึงจะไป ใช้สิทธิทางศาลแรงงานได้ มิฉะนั้นศาลจะไม่รับฟ้อง

 

บทกำหนดโทษ     เมื่อนายจ้างไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่นเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ไม่จ่ายค่าจ้าง(เงินเดือนและค่าจ้าง)  ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ฯลฯ

                           เมื่อปรากฏว่ามีการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ผู้ที่กระทำการฝ่าฝืนจะต้องถูกลงโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

นิยามความหมาย การร้องทุกข์ตามกฎหมาย คือ

1.เป็นข้อร้องทุกข์ของพนักงานและลูกจ้าง จะต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความคิดเห็น หรือข้อขัดแย้งว่าด้วยระบบหรือวิธีการทำงาน สิทธิประโยชน์ตามสัญญาหรือสภาพการจ้าง ความประพฤติ และความเป็นธรรมของพนักงานและลูกจ้าง

2.ข้อร้องทุกข์จะต้องมิใช่เรื่องร้องขอให้แต่งตั้ง โยกย้าย เลิกจ้าง ปลดออก ไล่ออก ซึ่งบุคคล

3.ข้อร้องทุกข์จะต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำงาน มิใช่เรื่องส่วนตัว เว้นแต่เรื่องนั้นจะเกี่ยวข้องกับการทำงาน

ซึ่งการร้องทุกข์ของพนักงานและลูกจ้างเป็นสิทธิเฉพาะตน สามารถร้องทุกข์ได้สำหรับตนเองเท่านั้น จะร้องทุกข์แทนคนอื่นหรือมอบหมายให้คนอื่นร้งทุกข์แทนไม่ได้ สาเหตุที่ต้องทำการร้องทุกข์ เกิดขึ้นจากผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ปฎิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายและเป็นกรณีที่ไม่มีสิทธิอุทธรณ์  ซึ่งการร้องทุกข์ทำได้ดังนี้   ร้องทุกข์ภายใน 30 วัน นับแต่ทราบหรือควรได้ทราบเรื่องอันเป็นเหตุให้ร้องทุกข์ โดยร้องทุกข์ด้วยวาจาต่อผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปเสียก่อน  หากคำชี้แจงเป็นที่ไม่พอใจหรือไม่ได้รับคำชี้แจงภายใน 7 วันนับแต่วันร้องทุกข์ด้วยวาจา  ก็สามารถร้องทุกข์เป็นหนังสือต่อผู้จัดการภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำชี้แจง

แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกฎหมายแรงงานให้สิทธินายจ้างในการกำหนดข้อบังคับเรื่องการร้องทุกข์ฉะนั้น ลูกจ้างสามารถที่จะใช้กระบวนการในองค์กรของตนได้ก่อน แต่หากไม่พอใจก็สามารถที่จะร้องต่อฝ่ายปกครองนั่นคือกรมส่งเสริมและสวัสดิ์ภาพแรงงานกับเจ้าพนักงานตรวจแรงงาน และในกรณีที่ลูกจ้างไม่พอใจก็สามารถนำเรื่องให้ศาลแรงงานวินิจฉัยชี้ขาด

การยื่นฟ้องศาลแรงงาน  ถ้านายจ้างไม่ประสงค์ที่จะร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ลูกจ้างก็มีสิทธิที่จะดำเนินการร้องเรียน หรือยื่นฟ้องต่อศาลแรงงานได้  เมื่อปรากฏว่านายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน โดยจะยื่นฟ้องต่อศาลแรงงานกลางซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร หรือยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดที่โจทก์หรือจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่โดยตรงเลยก็ได้  ซึ่งศาลจังหวัดจะรับฟ้องไว้แล้วแจ้งให้ศาลแรงงานกลางออกไปนั่งพิจารณาพิพากษาคดี  ณ  ศาลจังหวัดนั้น ๆ เอง การดำเนินคดีในศาลแรงงานนี้ไม่จำเป็นต้องมีทนายความและไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น 

   แต่การใช้สิทธิร้องเรียนต่อศาลแรงงานโดยตรง แทนการร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานนั้น กระทำได้ในเรื่องอื่น ๆ เว้นแต่การใช้สิทธิเรื่องเงินทดแทนจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนที่กฎหมายที่กฎหมายกำหนดเอาไว้เสียก่อนจึงจะไป ใช้สิทธิทางศาลแรงงานได้ มิฉะนั้นศาลจะไม่รับฟ้อง

 

บทกำหนดโทษ     เมื่อนายจ้างไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่นเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ไม่จ่ายค่าจ้าง(เงินเดือนและค่าจ้าง)  ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ฯลฯ

                           เมื่อปรากฏว่ามีการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ผู้ที่กระทำการฝ่าฝืนจะต้องถูกลงโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ