TH | EN


วันที่เพิ่มข้อมูล : 10 april 2562
มีผู้เข้าชมทั้งหมด : 3559 ครั้ง

กฎหมายคุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ เพิ่มสิทธิ์ลูกจ้างอะไรบ้าง ?

พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2562 ประกาศใช้เป็นกฎหมายแล้ว ! พร้อมเพิ่มสิทธิประโยชน์ลูกจ้างเพียบ มาเช็กเลยว่ามีสิทธิ์อะไรที่ดีกว่าเดิมบ้าง  

 

  ถือเป็นข่าวดีของลูกจ้างและมนุษย์เงินเดือนกันเลย เมื่อล่าสุดวันที่ 5 เมษายน 2562 ราชกิจจานุเบกษาได้ประกาศให้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 เป็นกฎหมายเรียบร้อยแล้ว โดยมีประเด็นสำคัญคือการเพิ่มสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ให้ดีกว่าเดิม ส่วนจะเพิ่มสิทธิ์อะไรให้ลูกจ้างบ้างนั้น วันนี้เราสรุปรายละเอียดมาฝาก  

• กรณีเลิกจ้าง  

 
          เพิ่มอัตราค่าชดเชยกรณีเลิกจ้างให้กับลูกจ้างที่ทำงานครบ 20 ปีขึ้นไป เป็น 400 วัน จากเดิม 300 วัน โดยจะได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่า 75% ของค่าจ้างในวันทำงาน ทำให้ปัจจุบันหลักเกณฑ์การจ่ายค่าชดเชยเลิกจ้าง เป็นดังนี้   
 

          1. ทำงานต่อเนื่องครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ได้ค่าชดเชยไม่น้อยกว่า 30 วัน   
          2. ทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี ได้เงินชดเชยไม่น้อยกว่า 90 วัน   
          3. ทำงานครบ 3 ปี แต่ไม่เกิน 6 ปี ได้เงินชดเชยไม่น้อยกว่า 180 วัน  
          4. ทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่เกิน 8 ปี ได้เงินชดเชยไม่น้อยกว่า 240 วัน   
          5. ทำงานครบ 10 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี ได้เงินชดเชยไม่น้อยกว่า 300 วัน   

          6. ทำงานครบ 20 ปีขึ้นไป ได้เงินชดเชยไม่น้อยกว่า 400 วัน  
 
          สำหรับเงินชดเชยเลิกจ้าง นายจ้างจะจ่ายให้ในกรณีที่ลูกจ้างถูกเลิกจ้างโดยที่ไม่ได้มีความผิด หรือไม่ได้ลาออกเองโดยสมัครใจ  
 
กฎหมายคุ้มครองแรงงาน


          นอกจากนี้ เมื่อมีการเลิกจ้าง นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้าง, ค่าล่วงเวลา, ค่าทำงานในวันหยุด, ค่าล่วงเวลาในวันหยุด และเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายตามกฎหมาย ให้แก่ลูกจ้างภายใน 3 วันนับตั้งแต่วันที่เลิกจ้าง 
 

• กรณีนายจ้างผิดนัดไม่จ่ายค่าตอบแทน  
 
          ครอบคลุมทั้งกรณีนายจ้างไม่คืนหลักประกันที่เป็นเงิน, ไม่จ่ายเงินกรณีเลิกสัญญาจ้างโดยไม่แจ้งล่วงหน้า, ไม่จ่ายค่าล่วงเวลา, ค่าทำงานวันหยุด, ค่าล่วงเวลาในวันหยุด หรือเงินชดเชยกรณีหยุดกิจการ กำหนดให้นายจ้างต้องเสียดอกเบี้ยให้ลูกจ้างจำนวน 15% ต่อปีตามระยะเวลาที่ผิดนัด  


• กรณีเปลี่ยนนายจ้าง 

 
          หากมีการเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้าง นิติบุคคล และทำการจดทะเบียนโอนหรือควบกับนิติบุคคลอื่น จนมีผลให้ลูกจ้างกลายเป็นลูกจ้างของนายจ้างใหม่ กรณีนี้ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างด้วย และนายจ้างใหม่จะต้องให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตามเดิมกับที่ลูกจ้างเคยได้รับ 


• กรณีย้ายสถานประกอบการ 

 
กฎหมายคุ้มครองแรงงาน
 
          นายจ้างต้องติดประกาศให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วันก่อนย้ายสถานประกอบการ หากไม่ประกาศ นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษให้ลูกจ้างจำนวน 30 วัน  
 

          นอกจากนี้ หากลูกจ้างไม่ต้องการย้ายไปทำงานที่ใหม่ สามารถแจ้งให้นายจ้างทราบเป็นหนังสือภายใน 30 วันที่ประกาศ โดยจะมีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชยพิเศษสูงสุด 400 วัน ตามหลักเกณฑ์การจ่ายค่าชดเชยเลิกจ้าง 

• กรณีลากิจ 

 
          เพิ่มสิทธิ์ให้ลูกจ้างสามารถลากิจธุระอันจำเป็น ได้ปีละไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน โดยที่ยังได้รับค่าจ้างตามปกติ 


• กรณีลาคลอดบุตร 

 
          เพิ่มสิทธิ์ให้ลูกจ้างหญิงที่ตั้งครรภ์ สามารถลาเพื่อคลอดบุตรได้ไม่เกิน 98 วัน ซึ่งรวมถึงวันลาเพื่อตรวจครรภ์ก่อนคลอดบุตรและให้นับรวมวันหยุดที่มีระหว่างวันลาด้วย จากเดิมลาคลอดบุตรได้ 90 วัน


          ทั้งนี้ ลูกจ้างจะได้รับค่าจ้างระหว่างลาคลอดบุตรจากประกันสังคม 45 วัน และจากนายจ้างอีกไม่เกิน 45 วัน 
 

• ลูกจ้างหญิงชายมีสิทธิ์เท่าเทียมกัน 
 
กฎหมายคุ้มครองแรงงาน
 

          นายจ้างต้องกำหนดค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดให้กับลูกจ้างชายหรือหญิงในอัตราที่เท่าเทียมกัน หากมีคุณภาพและปริมาณงานที่เท่ากัน  

          ทั้งหมดนี้ก็เป็นสิทธิประโยชน์สำคัญของกฎหมายคุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ ซึ่งได้ปรับปรุงเพื่อให้ลูกจ้างได้รับความคุ้มครองที่เหมาะสมมากขึ้น โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2562

 
 
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก