TH | EN


วันที่เพิ่มข้อมูล : 14 march 2559
มีผู้เข้าชมทั้งหมด : 8143 ครั้ง

แนวทางแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน

แนวทางแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน

 

แนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานควรปรับให้อุปสงค์และอุปทานของตลาดแรงงานมีความสอดคล้องกันมากขึ้นและควรเพิ่มผลิตภาพแรงงานของไทยให้สูงขึ้น ดังนี้

  • ในระยะสั้น

 (1) ภาครัฐและเอกชนควรพิจารณาปรับค่าจ้างให้สอดคล้องกับผลิตภาพของแรงงาน เพราะในช่วงที่

ผ่านมาค่าจ้างจริงอยู่ในระดับต่ํากว่าผลิตภาพของแรงงานมาโดยตลอดและค่าจ้างจริงของทุกกลุ่มการศึกษา

แทบไม่มีการเปลี่ยนแปลง

 (2) ภาคเอกชนควรเพิ่มจํานวนชั่วโมงการทํางานล่วงเวลาเป็นการปรับตัวในระยะสั้น เพื่อให้สามารถเพิ่มผลผลิตจากชั่วโมงทํางานที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่ยังหาแรงงานไม่ได้รวมถึงการจ้างแรงงาน Outsourceเพื่อสามารถหาแรงงานได้เร็วกว่าการเปิดรับสมัครพนักงานเอง อีกทั้งยังลดค่าใช้จ่ายด้านการฝึกอบรมด้วย

 นอกจากนี้ภาครัฐควรมีแผนยุทธศาสตร์ในเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าว (Immigration policy) อย่างชัดเจนเนื่องจากแรงงานต่างด้าวจําเป็นต่อตลาดแรงงานไทยโดยทํางานในงานที่แรงงานไทยไม่นิยมทําโดยเฉพาะงานหนักประเภท 3D งานสกปรก (Dirty) งานยาก (Difficult) และงานเสี่ยง (Dangerous)ทั้งยังมีความขยันอดทนในการทํางาน

  • ในระยะยาว

                (3) ควรเพิ่มผลิตภาพของแรงงาน (Labour productivity) โดยภาครัฐและภาคเอกชนควรสนับสนุนการลงทุนในสินทรัพย์ทุนให้มีจํานวนเครื่องจักรต่อแรงงานมากขึ้น การพัฒนาเทคโนโลยีเร่งพัฒนาฝีมือแรงงานให้มีสมรรถนะสูงโดยจัดฝึกอบรมทักษะที่จําเป็น และสร้างวัฒนธรรมการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice)ที่เน้นพัฒนาคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ให้แก่บุคลากร รวมท้ังภาครัฐควรสนับสนุนการพัฒนาแรงงานในธุรกิจSMEs ด้วย

 (4) ภาครัฐและเอกชนควรพิจารณาขยายอายุเกษียณ (delaying retirement) โดยในส่วนของภาครัฐต้องปรับแก้ไขกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติบําเหน็จบํานาญข้าราชการพ.ศ. 2494 และแก้ไขเพิ่มเติมกรณีกําหนดให้ข้าราชการที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์จะต้องพ้นจากราชการ ในส่วนของภาคเอกชนเป็นสิทธิของนายจ้างที่จะกําหนดอายุเกษียณของลูกจ้างในข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน รวมทั้งควรกําหนดระบบที่เอื้อให้องค์กรต่างๆ เสนอโอกาสการทํางานให้กับผู้สูงอายุที่มีศักยภาพและประสบการณ์ในสาขาที่ขาดแคลน เพื่อลดปัญหาทางโครงสร้างของความไม่สอดคล้องระหว่างอุปสงค์และอุปทานของแรงงานดานอาย ้ ุในระยะยาวระดับหนึ่ง

                (5) ภาครัฐและภาคเอกชนควรพัฒนาและสร้างความร่วมมือให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างสถาบันการศึกษา สถาบันฝึกอบรม สถาบันเฉพาะทาง และสถานประกอบการในภาคการผลิตต่างๆเพื่อสามารถผลิตบุคคลากรที่มีคุณภาพและตรงตามความต้องการ และควรเสริมสร้างระบบข้อมูลสําหรับการวางแผนกําลังคนของประเทศและปรับปรุงคุณภาพของแรงงานในระยะยาว

                (6) ภาครัฐและเอกชนควรตั้ง “มาตรฐานฝีมือแรงงาน” โดยในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมว่าต้องการความสามารถเฉพาะทาง (Competencies) เพียงใด เพื่อนําไปสู่กรอบการฝึกอบรมและทดสอบสมรรถนะ ที่สามารถควบคุมคุณภาพและรับประกันคุณภาพของแรงงาน

 (7) ควรเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของตลาดแรงงานไทยให้ประชาชนทราบ พร้อมทั้งกระตุ้นให้สถาบันการศึกษามีการแนะแนวการศึกษาต่อและแนวทางการประกอบอาชีพให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและความสามารถของแรงงาน