TH | EN


วันที่เพิ่มข้อมูล : 29 june 2562
มีผู้เข้าชมทั้งหมด : 708 ครั้ง

การละเลยหน้าที่ของลูกจ้าง

การละเลยหน้าที่ของลูกจ้าง

         ก่อนอื่นต้องนิยามความหมายของคำว่า “ละเลยหน้าที่ “ ซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายว่า

 -ละเลย หมายความว่า  ไม่ทำหรือไม่เอาใจใส่ด้วยถือว่าไม่สำคัญ  เพิกเฉย  ทอดทิ้ง เช่น ละเลยไม่เอาธุระ

 -หน้าที่ หมายความว่า กิจจะต้องทำด้วยความรับผิดชอบ

        กฎหมายแรงงานตามความเข้าใจของบุคคลส่วนใหญ่ในสังคมไทยนั้นจะคิดว่าเป็นกฎหมายที่มีขึ้นเพื่อปกป้องสิทธิ               ของแรงงานที่อาจจะถูกผู้เป็นนายจ้างละเมิดได้ แต่ก็มีส่วนหนึ่งที่มักจะถูกคนในสังคมมองข้ามไปอยู่เสมอ ซึ่งส่วนนั้นก็คือเรื่องของการปกป้องสิทธิของนายจ้าง อาจเป็นเพราะสังคมไทยส่วนใหญ่ประชากรจำนวนมากอยู่ในฐานะของลูกจ้าง สิทธิของนายจ้างจึงถูกละเลยและไม่ได้รับการกล่าวถึงบ่อยเท่าที่ควรนัก โดยสิทธิของนายจ้างนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมากเช่นกัน เพราะถือเป็นรากฐานของระบบการดำเนินธุรกิจขั้นพื้นฐานที่จะช่วยให้การจัดการทรัพยากรมนุษย์มีประสิทธิภาพมากขึ้น อันจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจในระดับจุลภาคและมหภาคด้วย โดยสิทธิของเจ้าของบริษัทที่ต้องได้จากลูกจ้างที่สำคัญๆได้ถูกทำการรวบรวมเอาไว้โดยมีส่วนของเนื้อหาและสาระสำคัญดังต่อไปนี้

1.ได้รับแรงงานจากการทำงานของลูกจ้าง

2. สิทธิในการใช้อำนาจบังคับบัญชา

3. สามารถโอนสภาพความเป็นนายจ้างไปยังบุคคลภายนอกได้

4.สิทธิเรียกค่าเสียหายจากลูกจ้าง

5. สิทธิเรียกร้องให้ลูกจ้างใช้ค่าเสียหายเมื่อกระทำการเสียหายกับบุคคลภายนอก

6. สามารถบอกเลิกจ้างแรงงานได้

 7. สิทธิรวมตัวกันเป็นองค์กรฝ่ายนายจ้าง

      ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุกรณีลูกจ้างกระทำการละเลยหน้าที่ ที่นายจ้างได้มอบหมายให้ นายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างตามที่กฎหมายได้ให้สิทธิแก่นายจ้างไว้

   แนวฎีกาที่บอกว่าละเลย

     - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2564/2557  แชทในเวลาทำงานไล่ออกได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

     -คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5222/2545   โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเป็นอาจิณตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ได้ตามบทกฎหมายดังกล่าว