TH | EN


วันที่เพิ่มข้อมูล : 3 march 2559
มีผู้เข้าชมทั้งหมด : 5802 ครั้ง

นายจ้างเลิกจ้างและไม่ยอมจ่ายค่าชดเชย

นายจ้างเลิกจ้างและไม่ยอมจ่ายค่าชดเชย

 

          ในปัจจุบันเกิดปัญหาในเรื่องนายจ้างไม่ยอมจ่ายชดเชยกรณีเลิกจ้าง ถามว่านายจ้างสามารถกระทำได้หรือไม่โดยไม่ผิดกฎหมายและลูกจ้างไม่สามารร้องทุกข์นายจ้างต่อศาลแรงงานซึ่งทำให้นายจ้างเกิดความเสียหาย จึงมีประเด็นให้ต้องพิจารณาดังนี้

                1.การเลิกจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541  มาตรา 118   การเลิกจ้างหมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไป และไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป ซึ่งหมายความว่า นายจ้างต้องกระทำการใดๆ เพื่อไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้จึงจะเป็นการเลิกจ้าง 

               

                ๒.ทำงานติดต่อกันตั้งแต่ 120 วัน

 

                ๓.ไม่ได้กระทำผิดตามมาตรา 119  ข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยกรณีการเลิกจ้าง

 

ถ้าครบ ๓ องค์ประกอบนี้นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชย การไม่จ่ายอาจจะมีโทษทางอาญาและมีโทษทางแพ่ง(ดอกเบี้ยและเบี้ยปรับ)

 

กรณีนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้

 

(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง

 

(2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

 

(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

 

(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน   หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด

 

(5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร

 

(6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

 

กล่าวคือโดยหลักแล้วหากนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 118 แต่หากการเลิกจ้างนั้นเป็นเพราะความผิดของลูกจ้างตามมาตรา 119 (1) -(6) นายจ้างมีสิทธิที่จะไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างได้ ทั้งนี้ ต้องระวัง ว่าการที่นายจ้างจะยกเหตุที่ลูกจ้างกระทำผิดตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างเพื่อไม่จ่ายค่าชดเชยได้นั้นนายจ้างต้องระบุเหตุเลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง ตามมาตารา 17 หากนายจ้างไม่ได้ระบุไว้ต่อมาจะยกข้ออ้างตามมาตรา 119 ขึ้นต่อสู้ลูกจ้างเพื่อไม่จ่ายค่าชดเชยไม่ได้